แนวข้อสอบ

จะไปสอบศาลยุติธรรม ต้องอ่านหนังสือตรงไหน ใครรู้บ้าง

คำแนะนำในการสอบศาลยุติธรรม

การสอบเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม จะมีการสอบอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1. การสอบความรู้ความสามารถทั่วไป หรือที่เรียกกันว่าสอบ ภาด ก.
การสอบวัดความสามารถทั่วไป จะมีเนื้อหาที่ใช้สอบ เช่น คณิต อนุกรม ตรรกะ อนุมาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
ทั้งนี้ข้าราชการก็มีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ, ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฯลฯ ขรก.พลเรือนสามัญ และ ขรก. บางประเภท จะใช้ผลการสอบภาค ก. ของ ก.พ. (หรือที่เรียกว่าสอบ ก.พ.) ขรก.ครูฯ, ขรก.กทม., พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ จะมีการสอบภาค ก. ของตนเอง ซึ่งอาจมีเนื้อหาข้อสอบเพิ่มเติมจากของ ก.พ. เช่น พ.ร.บ., ระเบียบ, ฯลฯ ขององค์กรนั้นๆ หรือความรู้เฉพาะอื่นๆการสอบแข่งขันบรรจุเข้าราชการการเป็น “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” 99% ต้องสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ภาค ก. ของ ก.พ. คือ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
1.1 ภาค ก. ปกติ ประจำปี คือ ภาค ก. ที่เปิดสอบเป็นประจำทุกปี ปีละครั้ง
1.2 ภาค ก. พิเศษ หรือ ภาค ก. สำหรับส่วนราชการ คือภาค ก. ที่เปิดสอบให้กับหน่วยงานราชการต่างๆเป็นการเฉพาะ
โดยเริ่มจากหน่วยงานราชการนั้นๆ ประกาศรับสมัครสอบภาค ข. โดยต้องเปิดรับสมัครผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ให้มีสิทธิเข้าสอบภาค ข. ด้วย เมื่อผ่านภาค ข. แล้ว ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. จึงมีสิทธิสมัครสอบ ภาค ก. รอบพิเศษทีหลัง เช่น ในกรณีนี้กรมนำร่องกรมแรกคือ กรมพินิจฯ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการเมื่อปลายปี 57 โดยเปิดรับทั้งคนที่ผ่าน ภาค ก. และ ยังไม่ผ่าน ภาค ก. ปกติ ซึ่งจะทำการสอบภาค ข. ของกรมพินิจก่อนพอมีผู้สอบผ่านข้อเขียนภาค ข. ทางสำนักงาน ก.พ. ก็จะเปิดสอบภาค ก. พิเศษ ให้กับผู้สอบผ่านข้อเขียน (ภาค ข.) ของกรมพินิจ ที่ยังสอบไม่ผ่าน ภาค ก. ปกติ สำหรับคนที่ผ่าน ภาค ก. ปกติมาแล้ว ก็ไม่ต้องสอบ ภาค ก. พิเศษ อีก รอสัมภาษณ์ได้เลย ทั้งนี้ ภาค ก. รอบพิเศษ สามารถนำผลไปใช้กับหน่วยงานราชการอื่นได้เหมือนภาค ก. ปกติ เพียงแต่จะไม่มีรอบการสอบซ่อมภาษาอังกฤษครับ
 
2.การสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง หรือ การสอบ ภาค ข.
คือ การสอบความรู้เฉพาะตำแหน่งนั้นๆ เช่น ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ก็ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร ตำแหน่งนิติกร ก็สอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้นอาจจะมีการสอบปฏิบัติ หรือ ทดสอบร่างกาย ก็ได้สำหรับข้าราชการ, บุคลากรของรัฐบางระเภท จะบังคับต้องผ่านภาค ก. มาก่อนจึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. หรือบางหน่วยงานอาจจะจัดสอบพร้อมกันทั้ง ก. และ ข. ก็ได้การสอบภาค ข. หน่วยงานของรัฐนั้นๆ จะประกาศสอบออกมาต่างหาก
 
3.การสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือ การสอบภาค ค. คือ การสอบสัมภาษณ์
ต้องสอบผ่าน ภาค ก. และ ข. หรือตามเงื่อนไขกำหนด มาก่อน จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค. การสอบภาค ค. อาจจะมีทั้งสอบมัสภาษณ์อย่างเดียว หรือ จะทดสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมก็ได้ เช่น ทดลอบจิตวิทยา ทดสอบร่างกาย สอบปฏิบัติ เป็นต้น
 
เตรียมสอบเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม
– ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานศาลยุติธรรม
– พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
– ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
– งานธุรการศาลยุติธรรม
– ความรู้เกี่ยวกับงานธุรการ
– ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง
– พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
– ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
– ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของสำนักงานศาลยุติธรรม
– ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมว่าด้วยการรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งของข้า- ราชการศาลยุติธรรม
– ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมว่าด้วยพนักงานราชการศาลยุติธรรม
– ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมว่าด้วยการโอนข้าราชการศาลยุติธรรม
แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<